ลักษณะสัณฐานวิทยา และความหลากหลายของปลาสลิดในประเทศไทย

การศึกษาสัณฐานวิทยา และความหลากหลายของปลาสลิดในประเทศไทยโดยใช้ปลาสลิดอายุ 8 เดือน จาก 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม จากการศึกษาความผันแปรของลักษณะภายนอกพบว่าปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม มีการแปรผัน 3 ลักษณะ คือ 1) ลายแถบดำคล้ายลายเสือ 2) ลายแถบดำ 1 แถบกลางตัวหรือเรียกว่าลายจุด และ 3) ไม่มีแถบดำ ตัวมีสีขาวนวล แต่ปลาสลิดจากจังหวัดอยุธยา และฉะเชิงเทรามีเพียงลักษณะเดียว คือ ลายเสือ พบว่าปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรสาครมีขนาดความยาวลำตัวมากที่สุด คือ 152.57 มิลลิเมตร ส่วนปลาสลิดจากจังหวัดฉะเชิงเทรามีดัชนีสมบูรณ์เพศสูงที่สุด คือ 13.68% จากการศึกษาความหลากหลายของปลาสลิดโดยใช้ยีน Cytochome oxidase subunit I และ Cytochome b นำมาทำแผนภาพอนุมานต้นไม้ด้วย MEGA 5 พบว่าสามารถจัดจำแนกปลาสลิดจาก 7 จังหวัดได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ปลาสลิดลายเสือจากจังหวัดสมุทรปราการ (SPV) ปลาสลิดลายเสือจากจังหวัดนครปฐม (NPTT) และปลาสลิดลายเสือจากจังหวัดเพชรบุรี (PTTT) กลุ่มที่ 2 ปลาสลิดลายจุดจากจังหวัดนครปฐม (NPWD) ปลาสลิดจากจังหวัดอยุธยา และปลาสลิดอ้างอิง Trichogaster pectoralis accession number HQ682729 กลุ่มที่ 3 คือ ปลาสลิดลายเสือจากจังหวัดสระแก้ว (SKTT) ปลาสลิดลายเสือจากจังหวัดสมุทรสาคร (SSDVT) และปลาสลิดจากจังหวัดฉะเชิงเทรา (CH)

หมวดหมู่

บทความล่าสุด

{{knowledgeForm.knowledgeTitle}}

{{knowledgeForm.createdDate | date:'MMM d, yyyy HH:mm '}}